Mahachai Prompathya Hospital
บริการ
ข้อมูลสุขภาพ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
เข้าสู่ระบบ

หน้าหลัก บทความ โรคมือ

โรคมือ เท้า ปาก รับมืออย่างไรดี?

Visited +237 Times

โรคมือ เท้า ปาก รับมืออย่างไรดี?

โรคมือ เท้า ปาก หรือ Hand, Foot, and Mouth Disease (HFMD) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human enteroviruses ผ่านการสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก ตุ่มน้ำใส หรือผื่นบริเวณผิวหนังของผู้ที่เป็นโรค โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กทารก เด็กเล็ก หรือเด็กในวัยเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี จึงมักพบการระบาดในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยจะมีการระบาดอย่างมากในช่วงฤดูฝนที่มีอากาศเย็น และอากาศชื้น ทำให้เชื้อยิ่งแพร่กระจายได้รวดเร็ว และเป็นพาหะในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นต่อไปได้อีกนานหลายสัปดาห์แม้ว่าผื่นจากโรคมือ เท้า ปาก จะหายไปแล้วก็ตาม

อาการโรคมือ เท้า ปาก เป็นอย่างไร
โรคมือ เท้า ปาก มีอาการเริ่มต้นโดยที่เด็ก ๆ เริ่มมีอาการไข้ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร และเริ่มงอแง โรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก ช่วงหน้าฝน มีระยะฟักตัวอยู่ที่ 3-6 วันตามมาด้วยการมีไข้ 1-2 วัน และเริ่มปรากฎตุ่มน้ำใสด้านหน้าของปากและลําคอ มีผื่นแต่ไม่คัน และอาจมีตุ่มน้ำใส หรือตุ่มนูนเล็ก ๆ บนฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือผื่นบริเวณก้น ในบางรายอาจมีอาการทุกอาการดังที่กล่าวมา ในขณะที่บางรายอาจมีอาการเพียง 2-3 อาการ โดยปกติอาการของโรคมือเท้าปากมักไม่รุนแรง และสามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน

เด็กที่ป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปากบางรายอาจมีไข้สูงเฉียบพลัน และมีตุ่มน้ำใสที่ด้านหลังของปากและลําคอ ซึ่งอาจเป็นโรคเฮอร์แองจินา (Herpangina) ซึ่งเป็นโรคไวรัสในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคมือ เท้า ปากในเด็ก โดยเด็กบางรายอาจมีอาการชัก และมีตุ่มน้ำใสที่มือ เท้า หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

ควรพบแพทย์เมื่อใด
ควรไปพบแพทย์ทันทีหากเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน หรือเมื่อเด็กไม่ยอมรับประทานน้ำหรืออาหารเพราะอาจทําให้ร่างกายขาดน้ำได้ หากมีอาการนานกว่า 10 วันควรปรึกษาแพทย์

รคมือ เท้า ปาก เกิดจากอะไร
เชื้อ coxsackievirus 16 ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งในกลุ่ม nonpolio enteroviruses เป็นสาเหตุหลักของโรคมือเท้าปาก อย่างไรก็ตามไวรัส enterovirus ชนิดอื่นสามารถทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน

โรคมือเท้าปากติดต่อจากคนสู่คน ผ่านการสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก ละอองฝอยจากการไอหรือจาม ของเหลวจากตุ่มพอง หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ

ปัจจัยเสี่ยง
วัยเด็ก ทุกคนสามารถติดเชื้อโรคมือเท้าปากได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเด็กที่อายุน้อยกว่า 5-7 ปีมักได้รับผลกระทบจากโรคนี้  เนื่องจากโรคนี้ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสผู้ป่วย เด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก ซึ่งมีความใกล้ชิดกันจึงติดเชื้อได้ง่าย  ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่สามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันโรคหลังได้รับเชื้อ

ภาวะแทรกซ้อน
อาการของโรคมือเท้าปากมักไม่รุนแรง หายได้เอง อย่างไรก็ตาม บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้

ภาวะขาดน้ำ
เด็กที่ป่วยมักจะดื่มน้ำและรับประทานอาหารได้น้อยลงเนื่องจากแผลในปาก หากไม่รับประทานอะไรได้เลย แพทย์อาจแนะนําให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อรับน้ำเกลือ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส
หากเชื้อ enterovirus เข้าสู่สมองอาจทําให้เกิดเยื่อหุ้มสมองและน้ำไขสันหลังรอบสมองและไขสันหลังอักเสบได้ อย่างไรก็ตามอาการนี้มักพบได้น้อย
โรคไข้สมองอักเสบ
เป็นอาการอักเสบของสมองที่พบได้น้อย แต่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต
การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
ล้างมือด้วยสบู่ก่อนรับประทานอาหารหรือเตรียมอาหาร ทําความสะอาดมือให้สะอาดหลังการจาม ไอ เปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก หรือใช้ห้องน้ำ
ทําความสะอาดของเล่นและพื้นผิวสัมผัสร่วมที่คนใช้บ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู
สอนวิธีการล้างมืออย่างถูกต้องให้กับเด็ก ๆ อธิบายและเตือนว่าไม่ควรเอานิ้ว ของเล่น หรือวัตถุอื่น ๆ เข้าปาก
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง งดไปสถานรับเลี้ยงเด็กหากลูกป่วย

การตรวจวินิจฉัยโรคมือ เท้า ปาก
แพทย์จะถามอายุของเด็ก และประเมินอาการ แผลในปากว่าเกิดจากโรคมือเท้าปากหรือการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ แพทย์อาจให้เก็บเชื้อที่คอหรืออุจจาระไปตรวจเพื่อตรวจสอบชนิดของไวรัส

การรักษาโรคมือ เท้า ปาก
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคมือเท้าปากโดยเฉพาะ โดยปกติโรคจะหายเองภายใน 7-10 วัน อย่างไรก็ตามสามารถบรรเทาความรุนแรงได้ด้วยการใช้ยาชาในช่องปากเฉพาะที่ ยา acetaminophen หรือ ibuprofen

การดูแลรักษาตัวที่บ้าน
เนื่องจากความเจ็บปวดที่เกิดจากตุ่มพองในปากและลําคออาจทำให้เด็กไม่อยากอาหาร คุณพ่อคุณแม่สามารถปฏิบัติตามคําแนะนําด้านล่างเพื่อกระตุ้นให้เด็ก ๆ รับประทานอาหารได้มากขึ้นและบรรเทาอาการเจ็บปวดภายในช่องปาก

บ้วนปากด้วยน้ำเกลือเพื่อบรรเทาอาการอักเสบและความเจ็บปวด
งดรับประทานผลไม้รสเปรี้ยว น้ำผลไม้ หรือโซดาเนื่องจากมีกรด ซึ่งอาจสร้างความระคายเคืองภายในช่องปาก
ให้รับประทานของเย็น ๆ เช่น ไอติมแท่ง น้ำแข็ง ไอศกรีม และโยเกิร์ตเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด
จิบน้ำเย็น
รับประทานอาหารอ่อน ๆ หากเคี้ยวไม่ไหว
Share -

นัดหมายแพทย์

เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับท่าน ภายใน 48 ชั่วโมง

032-328-521 (ถึง) 5
(ฉุกเฉิน) 065-541-7995


บทความยอดนิยม


โรงพยาบาลมหาชัยพร้อมแพทย์

ฝากข้อความติดต่อกลับ

โรงพยาบาลมหาชัยพร้อมแพทย์

77/4 ถนนคฑาธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000

โทร: 032-328-521 (ถึง) 5
(ฉุกเฉิน) 065-541-7995

ที่อยู่ติดต่อ

77/4 ถนนคฑาธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000

ฝากข้อความติดต่อกลับ

หมายเหตุ เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับท่าน ภายใน 48 ชั่วโมง.

Copyrights © 2025 All Rights Reserved. Mahachai Prompathya Hospital Version 1.0. Designed by WEB-BEE-DEV. +131,227 Times.